วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วันจันทร์ ที่ 28 เดือน มีนาคม พ.ศ 2558 




แผน IEP



แผน IEP
-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน  และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้--เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
-จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
 -คัดแยกเด็กพิเศษ
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะได้ทราบว่าให้เริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-เด็กสามารถทำอะไรได้/เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
แล้วจึงเริ่มเขียนเเผนIEP

IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น เป็นสิ่งสำคัญมากครูเขียนเอง
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-ระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมิน

ประโยชน์ต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาเเละฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาความก้าวหน้าของเด็ก
ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1. การรวบรวมข้อมูล
รายงานทางการแพทย์
รายงานการประเมินด้านต่างๆ
บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย
ระยะยาว  เขียนแบบกว้างแต่ชัดเจนกำหนดเชิงพฤติกรรม
ระยะสั้น   มีรายละเอียดเยอะ
จุดมุ่งหมายระยะยาว
กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง เช่น
น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้  
น้องดาวร่วมมือกับผู้ปกครองได้ดีขึ้น 
น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

 จุดมุ่งหมายระยะสั้น
ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
จะสอนใคร
พฤติกรรมอะไร
เมื่อไหร่  ที่ไหน  (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน


การใช้แผน
เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถโดยคำนึงถึง
ขั้นตอนพัฒนาการของเด็ก
ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

การประเมินผล
-จะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
-ต้องกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
**การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม  อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**











การนำไปใช้

1.การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่นำไปใช้ในการเขียนแผนIEPได้อย่างถูกต้องต้อง
2.ทราบข้อมูลเด็กอย่างละเอียดสามารถเขียนแผนIEP แบบระยะสั้นและระยะยาวได้ถูกต้อง

การประเมิน
ประเมินตนเอง  ตั้งใจเรียน ได้รู้เทคนิคการเขียนแผนที่ถูกต้องสามารถนำไปใช้ได้จริง 
ประเมินเพื่อน   ตั้งใจเรียน บรรยากาศในห้องวันนี้ อบอุ่น วันนี้เป็นวันที่เรียนนานเพราะปิดคลอส แต่ก็สนุกสนานมาก
 ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลาทุกครั้ง ดูแลใส่ใจนักศึกษาเป็นอย่างดี ค่อยให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆได้เสมอ มีวิธีการสอนที่ทำให้รู้สึกอบอุ่น ไม่เครียด ไม่ง่วง สอนเข้าใจ และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เรียนกับอาจารย์ค่ะ




บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

วันจันทร์ ที่ 20 เดือน มีนาคม พ.ศ 2558 






วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบ และมีกิจกรรมสนุกๆมาให้เป็นเล่นนั่นก็คือ เกมทายใจเรื่องดิ่งพสุธา เพื่อเป็นการผ่อนคลายก่อนเรียน



ทักษะพื้นฐานทางการเรียน


เป้าหมาย
ช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
เด็กรู้สึกว่าฉันทำได้
พัฒนาความกระตือรือร้น  อยากรู้อยากเห็น
อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
เด็กมีความสนใจใน10-15นาที
ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
จดจ่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ  เช่น

เลียนเเบบเพื่อน  ครู  คนที่โตกว่า  คนรอบข้าง

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ

 เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้  การเคลื่อนไหว
ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น  แล้วตอบสนองได้อย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
ต่อบล็อก
ศิลปะ
มุมบ้าน
ช่วยเหลือตนเอง







 อุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ความจำ
จากการสนทนา
เมื่อเช้าหนูทานอะไร
แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
จำตัวละครในนิทาน
จำชื่อครู เพื่อน
เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์
การสังเกต
การวัด
การนับ
จำแนก







การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

จัดกลุ่มเด็ก
เริ่มต้นการเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
พูดในทางที่ดี เช่น การชม
จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
ทำบทเรียนให้สนุก

การประยุกต์ใช้
1.สามารถนำไปใช้ในการสอนจริงได้
2.รู้ถึงทักษะพื้นฐานทางการเรียนของเด็กได้ดียิ่งขึ้น


การประเมิน
ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอนรู้สึกผ่อนคลาย ได้หัวเราะ สนุกสนาน ก่อนเรียนเสมอ

ประเมินเพื่อน  ตั้งใจเรียนทุกๆคนทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้เล่นอย่างสนุกสนานจนลืมร้อน  ตังใจจดเนื้อหาเพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา เตรียมการสอนมาดี มีกิจกรรมสนุกๆมาให้เล่นเสมอทำให้นักศึกษาผ่อนคลายก่อนเรียน 
บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วันจันทร์ ที่ 13 เดือน มีนาคม พ.ศ 2558 

ไม่มีการเรียนการสอน


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วันจันทร์ ที่ 6 เดือน มีนาคม พ.ศ 2558 

ไม่มีการเรียนการสอน


วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วันจันทร์ ที่ 30 เดือน มีนาคม 
พ.ศ 2558 

วันนี้มีสอนการเขียนแผนศิลปะสร้างสรรค์และเตรีมงานกีฬาสีคณะศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
















บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 23 เดือนมีนาคม 2558


วันนี้มีการสอบข้อเขียน






 บันทึกอนุทินครั้งที่ 10 


ประจำวันอังคารที่ 17 เดือนมีนาคม พ.ศ 2558






ความรู้ที่ได้รับ
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง











กิจกรรมท้ายคาบ


















การประยุกต์ใช้
   1. สามารถนำตารางการช่วยเหลือตัวเองของเด็กๆไปใช้ในการเรียนการสอนจริงได้
   2. ได้รู้การทำผลงานศิลปะที่สร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและสามารถนำไปต่อยอดได้

การประเมินหลังการสอน
ประเมินตนเอง : มาสาย แต่งกายไม่ค่อยสุภาพแต่หล่อน่ะ
ประเมินเพื่อน :  ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงาน
ประเมินอาจารย์ : สอนสนุก อธิบายได้ชัดเจ
บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

ประจำวันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ. ศ 2558

ต้นชั่วโมงของการเรียนทำแบบทดสอบจิตวิทยา 







ทบทวนเพลงที่สอนในสัปดาห์ที่เเล้ว







 ทักษะทางด้านภาษาการวัดความสามารถทางภาษา เข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูดไหมตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหมถามหาสิ่งต่างๆไหมบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไหมใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด การพูดตกหล่นการใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียงหนึ่งติดอ่าง


การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่   ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัดห้ามบอกเด็กว่า " พุดช้า" "ตามสบาย"  "คิดก่อนพูด"อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูดอย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็กไม่เปรียบเทียบการพุดของเด็กกับเด็กคนอื่นเด็กที่พูดไม่ชัดอาจจะเกี่ยวข้องกับการได้ยินให้โอกาสเด็กได้พูด


ทักษะทางภาษา  ทักษะการรับรุ้ภาษา(เด็กพิเศษสำคัญมาก)การเเสดงออกทางภาษาการสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด ส่วนมากเด็กพิเศษจะทำกัน ซึ่งคนเป็นครูต้องดูให้ออกว่าเด็กต้องการจะสื่ออะไร





กิจกรรมในห้องเรียน












การนำไปประยุกต์ใช้

  • กิจกรรมศิลปะสามารถชวยให้เด็กแสดงอารมณ์ผ่านผลงานออกมาได้ ฉะนั้น การที่ให้เด็กได้ทำผลงานศิลปะนั้นก็เหมือนกับการที่ให้เด็กระบายความในใจนั่นเอง
  • เพลงช่วยให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวได้ดียิ่งขึ้น
การประเมินหลังการสอน

ประเมินตนเอง : แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจทำผลงานที่อาจารย์ได้มอบหมาย

ประเมินเพื่อน : ตั้งใจทำงาน ตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ : แต่งตัวเรียบร้อย ตรงต่อเวลา สอนสนุก

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8 

ประจำวันจันทร์ ที่ 2 มีนาคม พ . ศ 2558
ไม่ได้มาเรียน คัดลอกมาจาก นางสาว กาญจนา ธนารัตน์

>>>>>> >>>>ต้นชั่วโมง<<<<<<<<<<





อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนทำแบบทดสอบจิตวิทยา 5ข้อคลายเครียดและเรียกความสนใจในการเรียนได้เป็นอย่างดี





>>>>> แบบทดสอบรถไฟเหาะแห่งชีวิต(คุณจะต้องใช้ดินสอและกระดาษในการทายใจ) <<<<<<<<


          

1.คุณเดินเข้าประตูสวนสนุกและเห็นรถไฟเหาะอยู่ตรงหน้าโดยมีคนเข้าแถวเพื่อรอรอบของตนเองคุณคิดว่าคุณต้องรอนานเท่าไหร่จึงจะได้เล่น?

2.ในที่สุดก็ถึงตาคุณแล้วขณะนี้คุณกำลังหมุนและขึ้นลงไปตามราง ความเร็วทำให้คุณรู้สึกอย่างไร?

3.จุดที่ตื่นเต้นที่สุดของรถไฟเหาะนี้ก็คือเวลาที่รถไฟพุ่งดำดิ่งลงไปในสระน้ำคุณเปียกโชกไปด้วยน้ำที่สาดกระเซ็นเข้ามา ณ เวลานั้นคุณจะร้องหรือตะโกนออกมาอย่างไร?

4.คุณตัดสินใจที่จะเล่นม้าหมุนต่อแต่ขณะที่คุณกำลังนั่งอยู่บนม้าหมุนนั้นม้าตัวที่คุณนั่งอยู่เกิดขัดข้องและหยุดหมุนขึ้นมากะทันหัน คุณจะพูดกับม้าตัวนั้นว่าอย่างไร?

5.รถไฟ เหาะที่คุณเพิ่งเล่นมานั้นนับได้ว่าตื่นเต้นไม่เบาแต่มันอาจดีมากกว่านั้น ถ้าคุณสามารถออกแบบรถไฟเหาะที่สมบูรณ์แบบสำหรับตัวเองคุณจะออกแบบเส้นทาง รถไฟเหาะอย่างไร?วาดรูปโดยละเอียด      


                                                     
>>>>>>>>>> เฉลยคำตอบจ้า(ขำๆกันไปจ้า)<<<<<<<<<<<<<

ในทางจิตวิทยาการเคลื่อนไหวขึ้นลงที่เป็นจังหวะที่แสดงถึงความตื่นเต้นเร้าใจของอารมณ์ทางเพศ เพราะฉะนั้นคำตอบที่ผ่านมาทั้ง 5 ข้อ แท้ที่จริงแล้วหมายถึงความคิดของคุณในเรื่อง SEX

1.เวลาที่คุณใช้ในการรอขึ้นรถไฟเหาะคือระยะเวลาที่คุณใช้หรือระยะเวลาที่คุณอยากให้คู่ของคุณใช้ในการเล้าโลม 
2.ความรู้สึกของคุณขณะนั่งรถไฟเหาะบอกถึงความรู้สึกของคุณขณะร่วมรัก
3.คำพูดของคุณขณะที่รถไฟเหาะพุ่งลงไปในน้ำหมายถึงคำพูดของคุณที่จะใช้พูดในขณะที่คุณถึงจุดสุดยอดในการร่วมรัก
4.ใน ทางจิตวิทยาม้าแสดงถึงความเป็นชายชาตรีคำพูดที่คุณพูดกับม้าตัวที่ขัดข้อง กะทันหันบอกถึงสิ่งที่คุณอาจพูดกับตัวเองหรือคู่ของคุณในสถานการณ์ที่คุณ ผู้ชายล้มเหลวในเวลาปฏิบัติหน้าที่
5.ภาพของรถไฟเหาะในอุดมคติ แสดงถึงภาพของ SEX ที่สมบูรณ์แบบในความคิดคุณ


                                                    

เนื้อหาที่เรียนในวันนี้......... เรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางด้านสังคม
  • ควรฝึกมากๆบ่อยๆ
  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคมไม่ได้มีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือสภาพเเวดล้อม
  • การอยู่ในสภาพเเวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการด้านต่างๆอย่างมีความสุข
  • เด็กออทิสติกขาดทักษะด้านนี้มาก
กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  • เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ในช่วงเเรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อนเเต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส กัด ดึง
ยุทศาสตร์การสอน
  • วางแผนกิจกรรมไว้หลายๆอย่าง
  • คำนึงถึงเด็กทุกคน
  • ให้เ็ดเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน (อัตราส่วน เด็กพิเศษ 1 คน : เด็กปกติ 3คน)
  • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือนครูให้เด็กพิเศษ
  • ไม่ควรหันหลังให้เด็กเวลาทำกิจกรรมเพราะจะทำให้เกิดเหตการต่างๆเช่น เด็กน้อยใจที่ครูไม่สนใจ พฤติกรรมอันตรายบางอย่าง เป็นต้น
ครูควรปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • อยู่ใกล้ๆเเละเฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าหากเด็กหันมาหาครู
  • ไม่ชมเชยหรือใส่ใจเด็กมากจนเกินไป
  • เอาวัสดุ/อุปกรณ์ /ของเล่น เพิ่มที่ละน้อยๆ เพื่อยืดเวลาความสนใจในการทำกิจกรรม
  • ให้ความคิดเห็นเป็นเเรงเสริม โดยเฉพาะน้องดาว
การให้เเรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่นกับเพื่อน
  • ทำโดยการพูดนำของครู
  • ดูบริบทหรือสิ่งเเวดล้อมรอบตัวเด็ก
  • ของเล่นเป็นสื่อกลางใช้ดีในการดึงดูดเพื่อน
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฏเกณฑ์
  • เด็กทุกคนมีความเท่าเทียมกันคือสิ่งสำคัญที่ควรคำนึง
  • ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  • การให้โอกาสให้เขาได้ลองทำ ลองเล่น ตามที่เขาสนใจ
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องมาเป็นเครื่องต่อรอง
  • ทำให้เป็นเกม
  • เด็กต้องการคำพูดชี้นำของครูมาก
  • ทำซ้ำบ่อยๆสม่ำเสมอ
>>>>>>>>>>>>>>>>>> ฮู้....มาม่ะ มาทำงานศิลปะบำบัดกันดีกว่า <<<<<<<<<<<<<<<<<<<<


 >>>>>>>>>  วัสดุ/อุปกรณ์  <<<<<
          กระดาษ , สีเทียน  , เพลงบรรเลง
เริ่มต้นจากเเบ่งเด็กออกเป็น 2 คน โดยกำหนดให้ คนเเรกจุดเส้นตรงภาพที่เพื่อนวาดเป็นวงกลม และอีกคนเป็นคนขีดเส้นเรื่อยๆไปตามจังหวะเพลงโดยไม่ยกสีออกจากกระดาษ  จากนั้นตกเเต่งภาพตามจินตนาการที่ตาเรามองเห็นได้อย่างอิสระ




>>>>>>>>>>>>>  นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน  <<<<<<<<<<<<  




>>>>>> มาร้องเพลงกันเถอะพวกเรา <<<<<

ผู้เเต่ง.............อาจารย์ ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง......อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน

เพลงดวงอาทิตย์

ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรองผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วเเหล่งหล้า
บ่งเวลาว่ากลางวัน


เพลงดวงจันทร์


ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตายามค่ำคืน


เพลงดอกมะลิ


ดอกมะลิกลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บุชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ


เพลงกุหลาบ


กุหลาบงามก้านหนามเเหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในเเจกัน


เพลงนกเขาขัน


ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู


เพลงรำวงดอกมะลิ


รำวงรำวงร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยเป็นมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมชื่นใจจริงเอย

การประยุกต์ใช้
  • อย่าหันหลังให้เด็กในการทำกิจกรรมเพราะอาจจะทำให้เกิดเรื่องที่ไม่คาดคิดได้ เช่น ความน้อยใจ การทำร้ายเพื่อน 
  • ของเล่นเพิ่มทีละน้อยๆเพื่อยืดเวลาในการเรียนรู้หรือความสนใจของเด็กออกไป
  • มองเด็กให้เป็นเด็ก มีความเสมอภาคกันทุกคน
  • เน้นการฝึก การกระทำซ้ำๆบ่อยๆ 
การประเมินหลังการสอน
ประเมินตนเอง : วันนี้เหนื่อยมาๆเนื่องจากกิจกรรมในช่วงเช้าเลยไม่ค่อยจะสดชื่นเท่าที่ควร เเต่ก็ตั้งใจเรียน เข้าใจเนื้อหาเเละร่วมทำกิจกรรรมในห้องเรียนร่วมกับเพื่อนๆอย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนเหนื่อยๆกับกิจกรรมในช่วงเช้าบางคนก้ไม่ไหวเลยต้องหยุดพักไปใน คาบบ่ายนี้ส่วนเพื่อนๆที่มาก็ตั้งใจเรียนร่วมทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์ : วันนี้สนุกดีค่ะ ส่วนตัวชอบทดแบบทดสอบจิตวิทยาอยู่แล้วเลยเพลินเลย 555 อาจารย์มีเทคนิคการสอน การดึงความสนใจอย่างนักศึกษาได้อย่างดี อธิบายเนื้อหารายวิชาได้อย่างละเอียดและเข้าใจง่าย